- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 สิงหาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,087 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,837 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,959 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,907 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,800 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,825 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,209 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,953 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,193 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,428 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 525 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,112 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,807 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,825 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,326 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5650
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนสิงหาคม 2562
ว่าจะมีผลผลิต 497.858 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 498.623 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.15 จากปี 2561/62
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ เดือนสิงหาคม 2562 มีปริมาณผลผลิต 497.858 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.15 การใช้ในประเทศ 494.496 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561/62 ร้อยละ 1.01 การส่งออก/นำเข้า 46.921 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.35 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 174.661 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.96
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา ปากีสถาน ปารากวัย และรัสเซีย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน จีน กินี เคนย่า เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อียิปต์ อียู อิหร่าน อิรัก และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอ่อนตัวลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลงจากจีน ขณะที่ผู้ส่งออกกำลังมองหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 335-345 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตันละ 340-350 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมีประมาณ 318,100 ตัน เท่านั้น ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 65.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าผู้นำเข้าจีนยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าว แต่การซื้อข้าวจากเวียดนามมีอุปสรรคทางด้านเทคนิคที่รัฐบาลจีนมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นมากขึ้น ดังนั้น ในปีนี้กระทรวงการค้า (Ministry and Industry and Trade) จึงมีแผนในการเดินทางไปขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น เช่น เม็กซิโก เป็นต้น
วงการค้าข้าว รายงานว่า ช่วงวันที่ 1-11 สิงหาคม 2562 เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 198,700 ตัน โดยเป็นการส่งออกข้าวขาว 5% ประมาณ 75,300 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2562
ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาล ปี 2556-2558 ได้ประมาณ 460,692 ตัน จากที่นำข้าวเก่าในสต็อกของรัฐบาลออกมาประมูลประมาณ 1,784,244 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 25.82 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยมีราคาเฉลี่ยที่ 2,126 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 302 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
มีรายงานว่า จีนได้เริ่มทำการซื้อขายข้าวสายพันธุ์ Japonica ในตลาดล่วงหน้าต้าเหลียน (the Dalian Commodity Exchange) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 โดยการซื้อขายเริ่มต้นด้วยราคามาตรฐานที่ 3,550 หยวนต่อตัน สำหรับแต่ละสัญญา (ประมาณ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ประธานตลาดต้าเหลียน ตั้งข้อสังเกตว่า การซื้อขายล่วงหน้าของข้าวสายพันธุ์ Japonica จะช่วยส่งสัญญาณ
ด้านราคา และสร้างความโปร่งใสให้ผู้ผลิตและบริษัทแปรรูปอาหารต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาในอนาคต
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,087 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,837 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,959 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,907 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,800 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,825 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,209 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,953 บาท/ตัน)
ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,193 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,428 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 525 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,112 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,807 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,825 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,326 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5650
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2562/63 ณ เดือนสิงหาคม 2562
ว่าจะมีผลผลิต 497.858 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 498.623 ล้านตันข้าวสาร หรือลดลงร้อยละ 0.15 จากปี 2561/62
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2562/63 ณ เดือนสิงหาคม 2562 มีปริมาณผลผลิต 497.858 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2561/62 ร้อยละ 0.15 การใช้ในประเทศ 494.496 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก ปี 2561/62 ร้อยละ 1.01 การส่งออก/นำเข้า 46.921 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.35 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 174.661 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2561/62 ร้อยละ 1.96
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน กายานา อินเดีย แอฟริกาใต้ ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา ปากีสถาน ปารากวัย และรัสเซีย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แองโกลา เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน จีน กินี เคนย่า เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อียิปต์ อียู อิหร่าน อิรัก และฟิลิปปินส์
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอ่อนตัวลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลงจากจีน ขณะที่ผู้ส่งออกกำลังมองหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 335-345 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตันละ 340-350 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2562 การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมีประมาณ 318,100 ตัน เท่านั้น ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 65.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าผู้นำเข้าจีนยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าว แต่การซื้อข้าวจากเวียดนามมีอุปสรรคทางด้านเทคนิคที่รัฐบาลจีนมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มข้นมากขึ้น ดังนั้น ในปีนี้กระทรวงการค้า (Ministry and Industry and Trade) จึงมีแผนในการเดินทางไปขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น เช่น เม็กซิโก เป็นต้น
วงการค้าข้าว รายงานว่า ช่วงวันที่ 1-11 สิงหาคม 2562 เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 198,700 ตัน โดยเป็นการส่งออกข้าวขาว 5% ประมาณ 75,300 ตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2562
ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาล ปี 2556-2558 ได้ประมาณ 460,692 ตัน จากที่นำข้าวเก่าในสต็อกของรัฐบาลออกมาประมูลประมาณ 1,784,244 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 25.82 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยมีราคาเฉลี่ยที่ 2,126 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 302 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
มีรายงานว่า จีนได้เริ่มทำการซื้อขายข้าวสายพันธุ์ Japonica ในตลาดล่วงหน้าต้าเหลียน (the Dalian Commodity Exchange) เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562 โดยการซื้อขายเริ่มต้นด้วยราคามาตรฐานที่ 3,550 หยวนต่อตัน สำหรับแต่ละสัญญา (ประมาณ 504 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ประธานตลาดต้าเหลียน ตั้งข้อสังเกตว่า การซื้อขายล่วงหน้าของข้าวสายพันธุ์ Japonica จะช่วยส่งสัญญาณ
ด้านราคา และสร้างความโปร่งใสให้ผู้ผลิตและบริษัทแปรรูปอาหารต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาในอนาคต
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.53 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.76 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 308.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,426 บาท/ตัน)ลดลงจากตันละ 310.25 ดอลลาร์สหรัฐ (9,474 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 48 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 ว่ามี 1,129.09 ล้านตัน ลดลงจาก 1,133.82 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.42 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 172.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 170.35 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 1.46 โดยสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก อิหร่าน เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ จีน โคลอมเบีย ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ตุรกี ชิลี อิสราเอล บังกลาเทศ กัวเตมาลา เคนยา และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 364.20 เซนต์ (4,446 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 376.20 เซนต์ (4,587 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 141 บาท
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 ว่ามี 1,129.09 ล้านตัน ลดลงจาก 1,133.82 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.42 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 172.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 170.35 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 1.46 โดยสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก อิหร่าน เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ จีน โคลอมเบีย ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ตุรกี ชิลี อิสราเอล บังกลาเทศ กัวเตมาลา เคนยา และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 364.20 เซนต์ (4,446 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 376.20 เซนต์ (4,587 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 141 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 31.43 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.44 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.67 ล้านตัน (ร้อยละ 2.12 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.70 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.76
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.84 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.75
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,275 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,267 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,754 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,741 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 31.43 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.44 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.67 ล้านตัน (ร้อยละ 2.12 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.70 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.76
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.84 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.75
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,275 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,267 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,754 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,741 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.151 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.207 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.203 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน ของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 4.32 และร้อยละ 4.61 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.26 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ร้อยละ 5.31
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกก.ละ 16.48 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 15.91 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ร้อยละ 3.58
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนพฤศจิกายน 2562 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,208 ริงกิตต่อตัน (528.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในช่วง 20 วันแรกของเดือนสิงหาคม 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดปริมาณลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา โดยในเดือนกรกฎาคม 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันของมาเลเซียออกสู่ตลาดปริมาณเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 ขณะเดียวกันสัญญาซื้อขายล่วงหน้าถั่วเหลืองของสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ2,152.77 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.12บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,144.87 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 540.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.74บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 858.64 เซนต์ (9.78 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 865.20 เซนต์ (9.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 294.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.70 เซนต์ (19.60 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.30 เซนต์ (20.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 858.64 เซนต์ (9.78 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 865.20 เซนต์ (9.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 294.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.70 เซนต์ (19.60 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 29.30 เซนต์ (20.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.42 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,013.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ
1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 915.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 915.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 948.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 553.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,073.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.80 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,074.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.79 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.42 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,013.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ
1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 915.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 915.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 948.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 553.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,073.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.80 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,074.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.79 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.37 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 14.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.37 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 14.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.43 (กิโลกรัมละ 40.63 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 59.14 (กิโลกรัมละ 40.37 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 59.43 (กิโลกรัมละ 40.63 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 59.14 (กิโลกรัมละ 40.37 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,696 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,710 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.82
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,361 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,371 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.73
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 845 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.62 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.96 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.62 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.96 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 64 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.77บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 288 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 2812 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 281 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้มีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 288 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 2812 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 281 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 372 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 372 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.73 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.73 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.03 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.03 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 สิงหาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 13.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 158.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 สิงหาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.75 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.71 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 84.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 13.72 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 158.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 162.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา